โครงการ พัฒนาทักษะด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์
และอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน
อย่างมีประสิทธิภาพ ประจำปี ๒๕๖๐ (IT Training 2017)
วันที่ ๑๒-๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ณ ห้อง Training ชั้น ๘ อาคารฉันทศึกษาเฉลิมพระเกียรติฯ
โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
*****************************************************
๑. ชื่อโครงการ
พัฒนาทักษะด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน
อย่างมีประสิทธิภาพ ประจำปี ๒๕๖๐ (IT Training 2017)
๒. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ฝ่ายงาน ICT โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)๓. หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ หมวด ๙ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา ๖๕ บัญญัติว่า “ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และ
ประสิทธิภาพ” โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 21 “คือโลกแห่งการเรียนรู้และการแข่งขัน” เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการทำงานอย่างมากมาย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาและคิดค้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้โปรแกรมมีความสามารถในการใช้งานมากขึ้นและหลากหลาย ขณะเดียวกันทรัพยากรบุคคลในวัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน ครู อาจารย์ ต้องปรับตัวและเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า อีกทั้งต้องศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้วยเช่นกัน
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทและมีความจำเป็นอย่างมากในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาบันการศึกษานั้น มีการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นภายในสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา ไปจนถึงระดับอุดมศึกษา อินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยม ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นช่องทางในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารตลอดจนใช้เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ต่าง ๆ ทำให้มีการแบ่งปันและกระจายองค์ความรู้ได้อย่างรวดเร็ว สำหรับในด้านการศึกษาและการเรียนการสอนนั้น ปัจจุบันเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนของตนเองให้มีความน่าสนใจมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้งาน ICT โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือ และสถานที่ จึงได้จัด โครงการ พัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปี ๒๕๖๐ (IT Training 2017) ขึ้นเพื่อให้บุคลากรภายในโรงเรียนเรียนรู้วิธีการใช้งานและพัฒนาทักษะโปรแกรมที่อบรมในหลักสูตรต่าง ๆ สนับสนุนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนและพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
๔. วัตถุประสงค์
๑. เพื่อฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรภายในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ให้มีความรู้และทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนได้๒. เพื่อให้บุคลากรภายในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) มีทักษะการบริหารจัดการด้าน Hardware และ Software ได้
๓. เพื่อให้บุคลากรภายในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
๕. เป้าหมาย
เชิงคุณภาพ๑.ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาหลักสูตรที่เข้ารับการอบรม
๒.ผู้เข้าร่วมอบรมมีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสามารถไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการเรียนการสอนได้
เชิงปริมาณ
๑. จำนวนผู้เข้ารับการอบรม ได้ตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้
๖. ระยะเวลาการฝึกอบรม
๗. เนื้อหาในหลักสูตร
แบ่งออกเป็น ๓ หัวข้อใหญ่ คือ๑. การใช้งาน Google App for Education
- การสมัครบัญชีผู้ใช้ Gmail
- การใช้งาน Google Drive
- การใช้งาน Classroom
๒. การใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
- การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่าง ๆ
- การบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ เบื้องต้น
๓. การจัดทำสื่อการเรียนการสอน
- เทคนิคการทำงานด้วย Microsoft Office 2010 อย่างมืออาชีพ
๘. ผู้เข้าร่วมโครงการอบรม
อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน ๙๐ คน แบ่งเป็นหลักสูตรละ ๓๐ คน
๙. งบประมาณ
เงินงบประมาณ จำนวนเงิน ๔๑,๐๐๐ บาท๑๐. สถานที่จัดอบรม
ห้อง Training ชั้น ๘ อาคารฉันทศึกษาเฉลิมพระเกียรติฯ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)๑๑. วิทยากร
อาจารย์วารินทร์ ชมตะคุ, อาจารย์โยธิน หวังทรัพย์ทวี๑๒. การติดตาม ควบคุม และการบริหารความเสี่ยง
๑. คณะทำงานประชุมวางแผนและดำเนินงานโครงการ ติดต่อประสานงานผู้บริหาร อาจารย์และเจ้าหน้าที่ในสถานศึกษา๒. กำกับติดตามงานที่ได้มอบหมาย เพื่อดูความพร้อมและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งรายงานให้หัวหน้าโครงการทราบ ร่วมกันแก้ไขปัญหา
๓. ลดความเสี่ยงของผู้เข้าอบรมที่อาจไม่ได้รับความรู้อย่างทั่วถึงในขณะเข้ารับการอบรม โดยการจัดบุคลากรช่วยสอนอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนผู้เข้ารับการอบรม
๔. หลังการดำเนินการจัดโครงการ ทำการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม
๑๓. ตัวบ่งชี้ความสำเร็จในโครงการ
๑.ร้อยละของผู้รับการอบรมที่มีความพึงพอใจในการเข้ารับการฝึกอบรมอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด๒.ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมการอบรมเป็นไปตามที่กำหนด ๓.ร้อยละความสำเร็จในผลงานกิจกรรม Workshop ของการอบรม
๑๔. การประเมินผลการอบรม
๑.ผู้เข้าฝึกอบรมมีความพึงพิใจในการเข้ารับการฝึกอบรมเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดี ๒.ผู้เข้าอบรมมีส่วนร่วมและทำกิจกรรมต่างๆ และเข้าร่วมตามกำหนดการฝึกอบรมร้อยละ ๘๐Download Full text in PDF
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น