วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

สรุปความรู้ : จากการนำเสนอการศึกษาดูงานองค์กรต่างๆ



การศึกษาดูงานหน่วยงานทางเทคโนโลยีการศึกษา

กลุ่มที่ 1 ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา มสธ. 
สำนักงานเทคโนโลยีการศึกษา มสธ. มีการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งเป็นที่แรกๆของประเทศไทย ระบบการบริหารงานส่วนใหญ่ยึดตามระบบราชการ ทำให้เกิดความล่าช้าและไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร

กลุ่มที่ 2 ศูนย์พัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นหน่วยงานที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เน้นการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ มีงบประมาณค่อนข้างสูง แต่ภายในหน่วยงานมีจำนวนบุคลากรจำกัดจึงมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง

กลุ่มที่ 3 สำนักสื่อ มศว.
มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการประสานงานเพื่อพัฒนาองค์กรทั้งภายในและภายนอก พัฒนาบุคลากรตามความสนใจ และมีการกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่อยู่เสมอ

กลุ่มที่ 4 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล




1) รายงานการศึกษาดูงานกลุ่ม ณ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล คลิกที่นี่
2) สื่อ Powerpoint การนำเสนอผลการศึกษาดูงาน ณ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล คลิกที่นี่

จัดทำโดย
1. นางสาวสุริศา วารุณ รหัสนิสิต 6014650890
2. นายธนพล กัณหสิงห์ รหัสนิสิต 6014650679
3. นางสาวพัชราภรณ์ พลพิทักษ์ รหัสนิสิต 6014651624
4. นางสาวปาลญา สุวาส รหัสนิสิต 6014650741
5. นางสาวมนัสนันท์ สระบัว รหัสนิสิต 6014651632

กลุ่มที่ 5 หอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มีการจัดสายงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม แบ่งงานตามความสามารถและความเชี่ยวชาญของบุคคล มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี รวมทั้งสนับสนุนและประสานงานในการฝึกงานของนิสิต มีการวางแผนการทำงานที่เป็นแบบแผนชัดเจน สนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาตนเอง ออกไปฝึกอบรม สัมมนา เพื่อนำมาพัฒนาหน่วยงาน ในด้านงบประมาณค่อนข้างไม่เพียงพอจึงทำให้เกิดปัญหาการจัดจ้างบุคลากร ส่งผลให้เกิดการทำงานหน้าที่ซ้อนทับเนื่องจากปัญหาการขาดบุคลากร

กลุ่มที่ 6 และกลุ่มที่ 8 ETV
มีโครงสร้างขององค์กรและภารกิจชัดเจน มีการจัดทำเนื้อหาที่หลากหลายสามารถตอบสนองการศึกษาทั้งในระบบนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แต่เครื่อง Servers มีขนาดเล็กจึงจัดเก็บข้อมูลย้อนหลังได้เพียง 2 เดือน และสื่อบางอย่างติดลิขสิทธิ์จึงไม่สามารถเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตได้ รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณมีค่อนข้างน้อยจึงมีข้อจำกัดในการขยายการให้บริการและประชาสัมพันธ์

กลุ่มที่ 7 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษาเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาและการให้บริการ ICT เพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ มีการเสนอกรอบนโยบาย แผนแม่บท แผนปฏิบัติการ ด้านเทคโนโลยี และพัฒนาระบบข้อมูลการให้บริการด้านข้อมูลสารสนเทศ สนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ เป็นศูนย์กลางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา มีการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดหา บำรุงรักษาครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อยู่เสมอ

กลุ่มที่ 9 TK
บุคลากรมีความรู้ความสามารถมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เป็นแหล่งการศึกษาสาธารณะสามารถรองรับจำนวนคนได้จำนวนมาก มีการแบ่งโซนต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการการใช้งานของแต่ละวัย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลโดยตรง แต่การจัดทำและพัฒนาสื่อยังไม่มีความหลากหลายมากนัก รวมทั้งยังติดเรื่องลิขสิทธิ์ของหนังสือสำหรับสร้างสื่อ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

© It's blog. it's me. 2012 | Blogger Template by Enny Law - Ngetik Dot Com - Nulis