ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
ประวัติความเป็นมา
- ปี 2533 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ขั้นโดยให้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงการ และรับผิดชอบงาน
- ปี 2534 คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระชนมพรรษา 5 รอบ กำหนดกรอบงบประมาณโครงการ 650 ล้านบาท
- ปี 2535 ได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาพื้นที่ก่อสร้าง ศึกษารูปแบบการบริหารจัดทำแผนแม่บท
- ปี 2537 เริ่มก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ งบการดำเนินการ 514.29 ล้านบาท
- ปี 2538 คณะรัฐมนตรีอนุมัติ พระราชกำหนด จัดตั้ง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์(อพวช.)ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2538 และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ อพวช. เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2538
- ปี 2540 เริ่มงานออกแบบ จัดทำ และติดตั้งนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เริ่มก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และอาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ปี 2543 เปิดให้บริการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2543
วัตถุประสงค์
- เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชนบท
- เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมสังคมไทยให้สนใจและเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อ การพัฒนาประเทศ และปลูกฝังให้เยาชนมีทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- เพื่อเป็นสถานที่ให้ความรู้และความเพลิดเพลินของครอบครัว รวมทั้งเป็นแหล่งท่อง เที่ยวของนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ
บทบาทหน้าที่
สิ่งที่ให้กับประชาชน
อพวช. เป็น
- แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long Learning)
- แหล่งสาระบันเทิง (Edutainment)
- แหล่งพัฒนาวิชาชีพ (Career Development)
- แหล่งท่องเที่ยวอย่างมีสาระ (Edu-tourism Attraction)
- แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long Learning)
- แหล่งสาระบันเทิง (Edutainment)
- แหล่งพัฒนาวิชาชีพ (Career Development)
- แหล่งท่องเที่ยวอย่างมีสาระ (Edu-tourism Attraction)
หลังจากการรับมอบโอนงานระยะเริ่มแรกจากสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯอพวช.ได้จัดทำแผนขึ้นเป็นครั้งแรกและได้ดำเนินการจนถึงปี
2540 ในช่วง 10 ปี ต่อจากนี้ไป อพวช.จึงได้กำหนด กรอบแผนรวมขึ้นเพื่อใช้เป็น
คู่มือในการดำเนินงาน ดังนี้
1.
จัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในภาคกลาง
ในเขตจังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 180 ไร่ บริเวณเทคโนธานี
ตำบลคลอง 5 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จะมีพิพิธภัณฑ์และศูนย์ต่างๆ ดังนี้
-
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ มีเนื้อที่ 18,000 ตร.ม. เปิดบริการแล้ว
- พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มีเนื้อที่ 3,000 ตร.ม. เปิดบริการแล้ว
- พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ มีเนื้อที่ 9,300 ตร.ม. เปิดบริการแล้ว
- พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มีเนื้อที่ 3,000 ตร.ม. เปิดบริการแล้ว
- พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ มีเนื้อที่ 9,300 ตร.ม. เปิดบริการแล้ว
2.
การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ในพื้นที่อื่นๆ
- จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ อาคารจัตุรัสจามจุรี ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กทม.
- จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ อาคารจัตุรัสจามจุรี ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กทม.
วิสัยทัศน์
เป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนา
การบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์แหล่งเรียนรู้ และการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์
พันธกิจ
Strengths
- เป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์
- เป็นองค์กรขนาดใหญ่ของรัฐที่มีความน่าเชื่อถือ
- มีกิจกรรมให้ประชาชนมีส่วนร่วมตลอดเวลา
- มีพื้นที่กว้างขวาง เพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับประชาชนจำนวนมาก
Weaknesses
- สื่อที่จัดแสดงหลายชิ้นไม่มีความร่วมสมัย และมีความชำรุดเสียหาย
- การเดินทางค่อนข้างลำบาก เนื่องจากตั้งอยู่ห่างไกลเขตชุมชน
Opportunities
- รัฐบาลชุดปัจจุบันมีนโยบายมุ่งเน้นผลักดันในเรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยี
Threats
- ในปัจจุบันมีสื่อที่มีความน่าสนใจและเข้าถึงได้ง่ายกว่า
- อุปนิสัยของคนไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับพิพิธภัณฑ์และงานจัดแสดงศิลปะ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น