วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

CIPPA Model


รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
โมเดลซิปปา (CIPPA Model)
หรือรูปแบบการประสานหน้าแนวคิด 
โดย ทิศนา แขมมณี
ทฤษฎีหรือหลักการแนวคิด ของรูปแบบ
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (Cippa  Model) หรือรูปแบบการประสาน 5 แนวคิด ดังกล่าวได้แก่
1. แนวคิดการสร้างความรู้ 
2. แนวคิดกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ 
3. แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้
4. แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้
5. แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนความรู้

เมื่อนำแนวคิดดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนพบว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ครบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย  อารมณ์  สติปัญญาและสังคม  โดยหลักการของโมเดลซิปปา ได้ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในตัวหลักการคือการช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวน การเรียนรู้ให้มากที่สุด มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและได้เรียนรู้จากกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์  ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ ร่วมกับการผลิตผลงานซึ่งมีความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้นักเรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองตามแนวคิด Constructivism (ทิศนา แขมมณี, 2542 )

แนวคิดทั้ง 5 เป็นที่มาของแนวคิด "CIPPA" ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุด โดยการให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง จากแนวคิดข้างต้น สรุปเป็นหลักซิปปา (CIPPA) ได้ดังนี้

1. C มาจากคำว่า Construction of knowledge
หลักการสร้างความรู้ หมายถึง การให้ผู้เรียนสร้างความรู้ตามแนวคิดของ Constructivism ซึ่งเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นประสบการณ์เฉพาะตนในการสร้างความหมายของสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง ซึ่งการที่ผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความรู้ด้วยตนเองนี้เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา

2. I มาจากคำว่า Interaction
หลักการปฏิสัมพันธ์ หมายถึง การให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งตามทฤษฎี Constructivism และ Cooperative Learning เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่บุคคลจะต้องอาศัยและพึ่งพาซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกัน กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคล และแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม

3. P มาจากคำว่า Process Learning
หลักการเรียนรู้กระบวนการ หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่างๆ เพราะทักษะกระบวนการเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสาระ (Content) ของการเรียนรู้ กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการคิด กระบวนการทำงาน กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม ฯลฯ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และเป็นสิ่งที่ผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ตลอดชีวิต รวมทั้งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางด้านสติปัญญาอีกทางหนึ่ง

4. P มาจากคำว่า Physical participation / Involvement
หลักการมีส่วนร่วมทางร่างกาย หมายถึง การให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เคลื่อนไหวร่างกาย โดยการทำกิจกรรมในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางกาย กล่าวคือ การเรียนรู้ต้องอาศัยการเรียนรู้การเคลื่อนไหวทางกายจะช่วยให้ประสาทการรับรู้ "active" และรับรู้ได้ดีดังนั้นในการสอนจึงจาเป็นต้องมีกิจกรรมให้ผู้เรียนต้องเคลื่อนไหวที่หลากหลาย และเหมาะสมกับวัยและความสนใจของผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับรู้และเรียนรู้

5. A มาจากคำว่า Application
หลักการประยุกต์ใช้ความรู้ หมายถึง การนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ กล่าวคือ การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงหรือการปฏิบัติจริง จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียน ทำให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ และเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้น กิจกรรมการเรียนรู้ที่มีแต่เพียงการสอนเนื้อหาสาระให้ผู้เรียนเข้าใจ โดยขาดกิจกรรมการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ จะทำให้ผู้เรียนขาดการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร การจัด กิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใช้นี้ เท่ากับเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านแล้วแต่ลักษณะของสาระและกิจกรรมที่จัดนอกจากนี้ การนำความรู้ไปใช้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต เป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างแท้จริงโดยการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยความร่วมมือจากกลุ่ม นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ จำนวนมาก อาทิ กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม การปฏิสัมพันธ์สังคม และกระบวนการแสวงหาความรู้ เป็นต้น

กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ซิปปา (CIPPA) เป็นการหลักซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA” นี้สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย ซึ่งอาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่ผู้เขียนได้นำเสนอไว้และได้มีการนำไปทดลองใช้แล้วได้ผลดี ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน ซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย

ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆ ซึ่งครูอาจจัดเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้

ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความเดิม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล/ความรู้ที่หามาได้ ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล/ประสบการณ์ใหม่ๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น ใช้กระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม

ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตน รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนเองให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมๆ กัน

ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย

ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ และ/หรือการแสดงผลงาน
หากข้อความรู้ที่ได้เรียนรู้มาไม่มีการปฏิบัติ ขั้นนั้นจะเป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตนเองและช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์แต่หากต้องมีการปฏิบัติตามข้อความรู้ที่ได้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติ และมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย

ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้นๆ

หลังจากการประยุกต์ใช้ในความรู้ อาจจะมีการนำเสนอผลงานจากการประยุกต์อีกครั้งก็ได้ หรืออาจไม่มีการนำเสนอผลงานในขั้นที่ 6 แต่นำมารวมแสดงในขั้นตอนท้ายหลังขั้นการประยุกต์ใช้ก็ได้เช่นกัน

ขั้นตอนตั้งแต่ขั้นที่ 1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (construction of knowledge) ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (interaction) และฝึกฝนทักษะกระบวนการต่างๆ (process learning) อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขั้นตอนแต่ละขั้นตอนช่วยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหลากหลายที่มีลักษณะให้ผู้เรียนได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์ และทางสังคม อย่างเหมาะสม 6 ทีคุณสมบัติตามหลักการ CIPP ส่วนขั้นตอนที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ (application) จึงทำให้เป็นรูปแบบนี้มีคุณสมบัติครบตามหลัก CIPPA

ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียน สามารถอธิบาย ชี้แจง ตอบคำถามได้ดี นอกจากนั้นยังได้พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นกลุ่ม การสื่อสาร รวมทั้งเกิดความใฝ่รู้ด้วย

CIPPA Model นอกจากจะเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เป็นตัวชี้วัด หรือเป็นเครื่องตรวจสอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ว่า กิจกรรมนั้นเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือไม่ โดยนำเอากิจกรรมในแผนการสอนมาตรวจสอบตามหลัก CIPPA 

การจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPA 
การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้นก็คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา สังคมและอารมณ์

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น มิใช่หมายความแต่เพียงว่าให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมอะไรๆ ก็ได้ที่ผู้เรียนชอบ กิจกรรมที่ครูจัดให้ผู้เรียนจะต้องเป็นกิจกรรมที่นำไปสู่การเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ และเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ จึงจะสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ดังนั้นครูที่จะสอนผู้เรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จึงจำเป็นที่จะต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีลักษณะดังนี้

1. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางด้านกาย (Physical Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อช่วยให้ประสาทการรับรู้ของผู้เรียนตื่นตัวพร้อมที่จะรับข้อมูลและการเรียนรู้ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น การรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ หากผู้เรียนไม่มีความพร้อมในการรับรู้ แม้จะมีการให้ความรู้ที่ดีๆ ผู้เรียนก็ไม่สามารถรับได้ ซึ่งจะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่พบได้เสมอๆ คือ หากผู้เรียนต้องนั่งนานๆ ไม่ช้า ผู้เรียนอาจหลับไป หรือคิดไปเรื่องอื่นๆ ได้ การเคลื่อนไหวทางกาย มีส่วนช่วยให้ประสาทรับรู้ตื่นตัว พร้อมที่จะรับและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดี ดังนั้นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียน จึงควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมกับวัยและระดับความสนใจของผู้เรียน

2. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา (Intellectual Participation) คือเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเคลื่อนไหวทางสติปัญญาหรือพูดง่ายๆ ว่า เป็นกิจกรรมที่ท้าทายความคิดของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความจดจ่อในการคิด สนุกที่จะคิด ดังนั้น กิจกรรมจะมีลักษณะดังกล่าวได้ ก็จะต้องมีเรื่องให้ผู้เรียนคิด โดยเรื่องนั้นจะต้องไม่ง่ายและไม่ยากเกินไปสำหรับผู้เรียน เพราะถ้าง่ายเกินไป ผู้เรียนก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความคิด แต่ถ้ายากเกินไป ผู้เรียนก็จะเกิดความท้อถอยที่จะคิด ดังนั้นครูจึงต้องหาประเด็นที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความคิดหรือลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

3. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม (Social Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่อาศัยรวมกันอยู่เป็นหมู่คณะ มนุษย์โดยทั่วไปจะต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับบริบทต่างๆ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางสังคม ซึ่งจะส่งผลถึงการเรียนรู้ทางด้านอื่นๆ ด้วย ดังนั้น กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี จึงควรเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วย

4. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางอารมณ์ (Emotional Participation) คือ กิจกรรมที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้นั้นเกิดความหมายต่อตนเอง กิจกรรมที่ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้เรียนนั้น มักจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ประสบการณ์ และความเป็นจริงของผู้เรียน จะต้องเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้เรียนโดยตรงหรือใกล้ตัวผู้เรียน

สรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนตาม CIPPA Model สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งทางด้านกาย สติปัญญา และสังคม ส่วนการมีส่วนร่วมทางด้านอารมณ์นั้น ความจริงแล้วมีเกิดขึ้นควบคู่ไปกับทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านกาย สติปัญญา และสังคม ซึ่งหากครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ตามหลักดังกล่าวแล้ว การจัด การเรียนการสอนของครูก็จะมีลักษณะที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง วิธีการที่จะจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ CIPPA Model สามารถทำได้โดยครูอาจเริ่มต้นจากแผนการสอนที่มีอยู่แล้ว และนำแผนดังกล่าวมาพิจารณาตาม CIPPA Model หากกิจกรรมตามแผนการสอนขาดลักษณะใดไป ก็พยายามคิดหากิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มลักษณะดังกล่าวลงไป หากแผนเดิมมีอยู่บ้างแล้ว ก็ควรพยายามเพิ่มให้มากขึ้น เพื่อกิจกรรมจะได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อทำเช่นนี้ได้จนเริ่มชำนาญแล้ว ต่อไปครูก็จะสามารถวางแผนตาม CIPPA Model ได้ไม่ยากนัก



POSDCoRB

แนวคิดและทฤษฎี

ประวัติความเป็นมาของ Lyndall Urwick และ Luther Gulick

     Lyndall Urwick เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 1891 (พ.ศ. 2434) เป็นชาวอังกฤษ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจาก Oxford ตามปกติเมื่อพูดถึง Urwick ก็ต้องพูดถึง Gulick พร้อมๆกันเพราะผลงานของทั้งสองเป็นที่โด่งดังในเรื่อง Organization Theory มีคำย่อออกมาสู่สายตาชาวโลก คือ POSDCoRB
     Urwick เสียชีวิตเมื่อ 5 ธันวาคม 1983 (พ.ศ. 2526) แนวความคิดนี้ประยุกต์เพิ่มเติม มาจากแนวความคิดที่ปรมาจารย์ Henri Fayol บัญญัติเอาไว้ โดยต่อยอดให้ชัดเจนขึ้น แนวความคิดจึงค่อนไปทาง bureaucratic อยู่บ้าง

     Luther Gulick เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1892 ที่เมือง Osaka ประเทศญี่ปุ่นเป็นชาว American แต่เนื่องจากบิดาเป็นMissionary ที่นั่น Gulick จึงอาศัยอยู่ที่ Osaka  ต่อมานักวิชาการด้านรัฐประสาสนศาสตร์มีความเห็นร่วมกันว่า ทฤษฎีแนวความคิดหลักการบริหารได้เจริญถึงจุดสุดยอดในปี ค.ศ. 1937 อันเป็นปีที่ Gulick และ Urwick ได้ร่วมกันเป็นบรรณาธิการหนังสือชื่อ Papers on the Science of Administration : Notes of the Theory of Organization โดยเสนอแนวคิดกระบวนการบริหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ชื่อว่า ‘ POSDCoRB” อันเป็นคำย่อของภาระหน้าที่ที่สำคัญของนักบริหาร 7 ประการ
ทฤษฎี : กระบวนการบริหาร POSDCoRB

     กูลิค และ เออร์วิกค์ ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่าง ๆ เอาไว้ในหนังสือชืื่อ “Paper on the Science of Administration ) โดยเสนอแนวคิดกระบวนการบริหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีชื่อว่า “POSDCoRB” ภาระหน้าที่ที่สำคัญของนักบริหาร 7 ประการ คือ





·       P = Planning                       การวางแผน
·       O = Organizing                   การจัดองค์กร
·       S = Staffing                        การจัดคนเข้าทำงาน
·       D = Directing                     การสั่งการ
·       Co = Co-Ordinating           การประสานงาน
·       R = Reporting                     การรายงาน
·       B = Budgeting                    การงบประมาณ

1.  Planning  การวางแผน
เป็นการวางเค้าโครงกิจกรรมซึ่งเป็นการเตรียมการก่อนลงมือปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินการสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.  Organizing  การจัดองค์การ
เป็นการกำหนดโครงสร้างขององค์การ โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับงาน เช่น การแบ่งงาน (Division of Work) เป็นกรม กอง หรือแผนก โดยอาศัยปริมาณงาน คุณภาพงาน หรือจัดตามลักษณะเฉพาะของงาน (Specialization) 

3.  Staffing   การจัดบุคลากรปฏิบัติงาน
เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรมาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการจัดแบ่งหน่วยงานที่กำหนดไว้

4.  Directing   การอำนวยการ
เป็นภาระกิจในการใช้ศิลปะในการบริหารงาน เช่น ภาวะผู้นำ (Leadership)  มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) การจูงใจ (Motivation)  และการตัดสินใจใจ (Decision making) เป็นต้น

5.  Coordinating  การประสานงาน
เป็นการประสานให้ส่วนต่าง ๆ ของกระบวนการทำงานมีความต่อเนื่องกัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และราบรื่น

6.  Reporting  การรายงาน
เป็นกระบวนการและเทคนิคของการแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาตามชั้นได้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน โดยที่มีีความสัมพันธ์กับการติดต่อสื่อสาร (Communication)  ในองค์การอยู่ด้วย

7.  Budgeting  การงบประมาณ
เป็นภารกิจที่เกี่ยวกับการวางแผนการทำบัญชีการควบคุมเกี่ยวกับการเงินและการคลัง

     POSDCoRB ใช้เป็นเครื่องมือบริหารงานครบวงจรของฝ่ายบริหารระดับสูง เพื่อบริหารองค์กรอย่างมีระบบ โดยเริ่มจาก การวางแผน ตั้งเค้าโครงเป้าหมายที่จะทำ, จัดโครงสร้างองค์กร, จัดคนเข้าตามโครงสร้าง, อำนวยการ สั่งการ ตามลำดับชั้น ให้งานเดินไปสู่เป้าหมาย

ข้อดีของ POSDCoRB คือ

·       ครอบคลุมการบริหารงานทั้งองค์กร
·       ใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย ไม่ตกรุ่น
·       เข้าใจง่าย ชัดเจน
·       ใช้ได้กับองค์กรทุกประเภท

ข้อเสียของ POSDCoRB คือ

·       ใช้ได้กับภาพรวมองค์กรเท่านั้น
·       ต้องได้รับความร่วมมือทั้งองค์กร

     POSDCoRB ใช้บริหารงาน.ให้มีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักการแบ่งงานกันทำตามหน้าที่ ตามความถนัด โดยแบ่งงานให้เป็นตามกระบวนการ วัตถุประสงค์ และหน่วยงานที่จะต้องจัดองค์กร โดยรูปแบบจะเป็นรูปสามเหลี่ยมปิรามิด มีสายการบังคับที่ชัดเจน โดยมีกรอบงบประมาณป็นตัวควบคุม

ตัวอย่างการใช้งาน
>> ดาวน์โหลด <<


ที่มา:http://applerakchon.blogspot.com/2012/10/1-luther-gulick.html | http://adisony.blogspot.com/2012/10/luther-gulick.html


วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

สรุปความรู้ : จากการนำเสนอการศึกษาดูงานองค์กรต่างๆ



การศึกษาดูงานหน่วยงานทางเทคโนโลยีการศึกษา

กลุ่มที่ 1 ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา มสธ. 
สำนักงานเทคโนโลยีการศึกษา มสธ. มีการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งเป็นที่แรกๆของประเทศไทย ระบบการบริหารงานส่วนใหญ่ยึดตามระบบราชการ ทำให้เกิดความล่าช้าและไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร

กลุ่มที่ 2 ศูนย์พัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นหน่วยงานที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เน้นการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ มีงบประมาณค่อนข้างสูง แต่ภายในหน่วยงานมีจำนวนบุคลากรจำกัดจึงมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง

กลุ่มที่ 3 สำนักสื่อ มศว.
มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการประสานงานเพื่อพัฒนาองค์กรทั้งภายในและภายนอก พัฒนาบุคลากรตามความสนใจ และมีการกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่อยู่เสมอ

กลุ่มที่ 4 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล




1) รายงานการศึกษาดูงานกลุ่ม ณ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล คลิกที่นี่
2) สื่อ Powerpoint การนำเสนอผลการศึกษาดูงาน ณ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล คลิกที่นี่

จัดทำโดย
1. นางสาวสุริศา วารุณ รหัสนิสิต 6014650890
2. นายธนพล กัณหสิงห์ รหัสนิสิต 6014650679
3. นางสาวพัชราภรณ์ พลพิทักษ์ รหัสนิสิต 6014651624
4. นางสาวปาลญา สุวาส รหัสนิสิต 6014650741
5. นางสาวมนัสนันท์ สระบัว รหัสนิสิต 6014651632

กลุ่มที่ 5 หอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มีการจัดสายงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม แบ่งงานตามความสามารถและความเชี่ยวชาญของบุคคล มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี รวมทั้งสนับสนุนและประสานงานในการฝึกงานของนิสิต มีการวางแผนการทำงานที่เป็นแบบแผนชัดเจน สนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาตนเอง ออกไปฝึกอบรม สัมมนา เพื่อนำมาพัฒนาหน่วยงาน ในด้านงบประมาณค่อนข้างไม่เพียงพอจึงทำให้เกิดปัญหาการจัดจ้างบุคลากร ส่งผลให้เกิดการทำงานหน้าที่ซ้อนทับเนื่องจากปัญหาการขาดบุคลากร

กลุ่มที่ 6 และกลุ่มที่ 8 ETV
มีโครงสร้างขององค์กรและภารกิจชัดเจน มีการจัดทำเนื้อหาที่หลากหลายสามารถตอบสนองการศึกษาทั้งในระบบนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แต่เครื่อง Servers มีขนาดเล็กจึงจัดเก็บข้อมูลย้อนหลังได้เพียง 2 เดือน และสื่อบางอย่างติดลิขสิทธิ์จึงไม่สามารถเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตได้ รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณมีค่อนข้างน้อยจึงมีข้อจำกัดในการขยายการให้บริการและประชาสัมพันธ์

กลุ่มที่ 7 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษาเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาและการให้บริการ ICT เพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ มีการเสนอกรอบนโยบาย แผนแม่บท แผนปฏิบัติการ ด้านเทคโนโลยี และพัฒนาระบบข้อมูลการให้บริการด้านข้อมูลสารสนเทศ สนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ เป็นศูนย์กลางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา มีการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดหา บำรุงรักษาครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อยู่เสมอ

กลุ่มที่ 9 TK
บุคลากรมีความรู้ความสามารถมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เป็นแหล่งการศึกษาสาธารณะสามารถรองรับจำนวนคนได้จำนวนมาก มีการแบ่งโซนต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการการใช้งานของแต่ละวัย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลโดยตรง แต่การจัดทำและพัฒนาสื่อยังไม่มีความหลากหลายมากนัก รวมทั้งยังติดเรื่องลิขสิทธิ์ของหนังสือสำหรับสร้างสื่อ

โครงการทางเทคโนโลยีการศึกษา (IT Training 2017)


โครงการ พัฒนาทักษะด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์
และอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน
อย่างมีประสิทธิภาพ ประจำปี ๒๕๖๐ (IT Training 2017)
วันที่ ๑๒-๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ณ ห้อง Training ชั้น ๘ อาคารฉันทศึกษาเฉลิมพระเกียรติฯ 
โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)

*****************************************************

๑. ชื่อโครงการ 

พัฒนาทักษะด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน
อย่างมีประสิทธิภาพ ประจำปี ๒๕๖๐ (IT Training 2017)

๒. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ฝ่ายงาน ICT โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)

๓. หลักการและเหตุผล

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ หมวด ๙ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา ๖๕ บัญญัติว่า “ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้
มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และ
ประสิทธิภาพ” โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 21 “คือโลกแห่งการเรียนรู้และการแข่งขัน” เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการทำงานอย่างมากมาย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาและคิดค้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้โปรแกรมมีความสามารถในการใช้งานมากขึ้นและหลากหลาย ขณะเดียวกันทรัพยากรบุคคลในวัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน ครู อาจารย์ ต้องปรับตัวและเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า อีกทั้งต้องศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้วยเช่นกัน
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทและมีความจำเป็นอย่างมากในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาบันการศึกษานั้น มีการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นภายในสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา ไปจนถึงระดับอุดมศึกษา อินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยม ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นช่องทางในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารตลอดจนใช้เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ต่าง ๆ ทำให้มีการแบ่งปันและกระจายองค์ความรู้ได้อย่างรวดเร็ว สำหรับในด้านการศึกษาและการเรียนการสอนนั้น ปัจจุบันเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนของตนเองให้มีความน่าสนใจมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้งาน ICT โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือ และสถานที่ จึงได้จัด โครงการ พัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปี ๒๕๖๐ (IT Training 2017) ขึ้นเพื่อให้บุคลากรภายในโรงเรียนเรียนรู้วิธีการใช้งานและพัฒนาทักษะโปรแกรมที่อบรมในหลักสูตรต่าง ๆ สนับสนุนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนและพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

๔. วัตถุประสงค์ 

๑. เพื่อฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรภายในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ให้มีความรู้และทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนได้
๒. เพื่อให้บุคลากรภายในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) มีทักษะการบริหารจัดการด้าน Hardware และ Software ได้
๓. เพื่อให้บุคลากรภายในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

๕. เป้าหมาย

เชิงคุณภาพ
๑.ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาหลักสูตรที่เข้ารับการอบรม
๒.ผู้เข้าร่วมอบรมมีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสามารถไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการเรียนการสอนได้
เชิงปริมาณ
๑. จำนวนผู้เข้ารับการอบรม ได้ตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้

๖. ระยะเวลาการฝึกอบรม


๗. เนื้อหาในหลักสูตร

แบ่งออกเป็น ๓ หัวข้อใหญ่ คือ
๑. การใช้งาน Google App for Education
- การสมัครบัญชีผู้ใช้ Gmail
- การใช้งาน Google Drive
- การใช้งาน Classroom
๒. การใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
- การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่าง ๆ
- การบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ เบื้องต้น
๓. การจัดทำสื่อการเรียนการสอน
- เทคนิคการทำงานด้วย Microsoft Office 2010 อย่างมืออาชีพ

๘. ผู้เข้าร่วมโครงการอบรม

อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน ๙๐ คน แบ่งเป็นหลักสูตรละ ๓๐ คน

๙. งบประมาณ

เงินงบประมาณ จำนวนเงิน  ๔๑,๐๐๐ บาท

๑๐. สถานที่จัดอบรม

ห้อง Training ชั้น ๘ อาคารฉันทศึกษาเฉลิมพระเกียรติฯ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)

๑๑. วิทยากร

อาจารย์วารินทร์  ชมตะคุ, อาจารย์โยธิน  หวังทรัพย์ทวี

๑๒. การติดตาม ควบคุม และการบริหารความเสี่ยง

๑. คณะทำงานประชุมวางแผนและดำเนินงานโครงการ ติดต่อประสานงานผู้บริหาร อาจารย์และเจ้าหน้าที่ในสถานศึกษา
๒. กำกับติดตามงานที่ได้มอบหมาย เพื่อดูความพร้อมและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งรายงานให้หัวหน้าโครงการทราบ ร่วมกันแก้ไขปัญหา
๓. ลดความเสี่ยงของผู้เข้าอบรมที่อาจไม่ได้รับความรู้อย่างทั่วถึงในขณะเข้ารับการอบรม โดยการจัดบุคลากรช่วยสอนอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนผู้เข้ารับการอบรม
๔. หลังการดำเนินการจัดโครงการ ทำการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม

๑๓. ตัวบ่งชี้ความสำเร็จในโครงการ

๑.ร้อยละของผู้รับการอบรมที่มีความพึงพอใจในการเข้ารับการฝึกอบรมอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
๒.ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมการอบรมเป็นไปตามที่กำหนด ๓.ร้อยละความสำเร็จในผลงานกิจกรรม Workshop ของการอบรม

๑๔. การประเมินผลการอบรม

๑.ผู้เข้าฝึกอบรมมีความพึงพิใจในการเข้ารับการฝึกอบรมเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดี ๒.ผู้เข้าอบรมมีส่วนร่วมและทำกิจกรรมต่างๆ และเข้าร่วมตามกำหนดการฝึกอบรมร้อยละ ๘๐


Download Full text in PDF


วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บทความที่เกี่ยวข้องกับ ECT : Mobile Technologies Education


Abstract

     Rapid advancement of information and communication technologies enables to produce more mobile devices. Most of distance education students need access to study materials, communications tools and further learning means not only at home and in their working place, but for example on business trips. The aim of this paper is to present possibilities of mobile technology in teaching informatics and programming. According to the results of surveys carried out in primary, secondary schools and universities. We can say that mobile devices are increasingly used in learning. Results of surveys and experiments show that mobile devices can enhance the teaching of Computer Science, Programming and Algorithms. The paper describes the experience of teaching and the development of mobile applications, applications for teaching and for users with special needs.

บทคัดย่อ

     ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสามารถสร้างสิ่งที่เป็นมากกว่าอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบไร้สาย นักเรียนทางไกลจำนวนมากต้องการที่จะเข้าถึงอุปกรณ์การศึกษา เครื่องมือในการสื่อสาร และอุปกรณ์การเรียนอื่นๆที่ไม่ใช่แค่ที่บ้านและที่ทำงาน แต่รวมถึงในระหว่างการเดินทางไปทำธุรกิจ (เป็นตัวอย่าง) จุดมุ่งหมายของบทความนี้คือการเสนอแนวทางที่เป็นไปได้ของเทคโนโลยีอุปกรณ์เคลื่อนที่ในการสอนสารสนเทศและออกแบบโปรแกรม (programming) ตามผลการสำรวจในโรงเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และมหาวิทยาลัย เราสามารถกล่าวได้ว่าอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบไร้สายสามารถใช้เพื่อเพิ่มการเรียนรู้ได้ ผลการสำรวจและการทดลองแสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบไร้สายสามารถเสริมสร้างการสอนในวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Science) การออกแบบโปรแกรม (Programming) และ อัลกอริทึ่ม (Algorithms) บทความได้อธิบายประสบการณ์ในการสอนและการพัฒนาแอพพลิเคชั่นในอุปกรณ์เคลื่อนที่ (พกพา) ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับการสอนให้กับผู้ใช้ที่มีความต้องการเฉพาะด้าน



Download full text in PDF (บทความต้นฉบับ)
Download in PDF (บทความแปล)

References
FOJTÍK, R., HABIBALLA, H.: Mobile technologies and distance education. Proceedings of E-Learning Conference. Gent, 2005. s. 27-32. [2005-09-06]. ISBN 90-70963-92-2.

FOJTÍK, R.: (2014) Educational and communication software for users with special needs. Proceedings of International Conference e-Learning’11.

Bukurest: Editura ASE, 2011. s. 70-74. [2011-08-25]. ISBN 978-606-505-459-2.

KUKULSKA-HULME, A., TRAXLER, J.: (2014) Mobile Learning, Routlende 2005, ISBN 0-415-35739-X.

PACHLER, N., COOK, J., BACHMAIR, B.: Mobile Learning, Springer 2010, e-ISBN 978-1-4419-0585-7.

Peer-review under responsibility of the Organizing Committee of CY-ICER 2014.
Copyright © 2014 Elsevier Ltd.


นางสาวปาลญา สุวาส รหัสนิสิต 6014650741
นางสาวพัชราภรณ์ พลพิทักษ์ รหัสนิสิต 6014651624
นางสาวมนัสนันท์ สระบัว รหัสนิสิต 6014651632

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (โสตทัศนศึกษา)

งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (โสตทัศนศึกษา)
กลุ่มบริหารงานทั่วไป 

โรงเรียนวัดนวลนรดิศ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1


ข้อมูลพื้นฐาน

       โรงเรียนวัดนวลนรดิศ มีพื้นที่ 2 บริเวณ แยกกันอย่างชัดเจน ห่างกัน 300 เมตร โดยบริเวณที่ 1 เป็นพื้นที่จัดการเรียนการสอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และบริเวณที่ 2 เป็นพื้นที่สำหรับจัดการเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบันมีนักเรียน 2,538 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 130 คน เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปัจจุบันก่อตั้งมาแล้ว 127 ปี

วิสัยทัศน์
       วิชาการล้ำ เชิดชูคุณธรรม ดำรงความเป็นไทย ก้าวไกลสู่สากล บนพื้นฐานพอเพียง

ปรัชญา
       เรียนดีเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ดำรงไทย

คำขวัญ
       นวลฯ จะงาม นามจะดี ก็ที่ศิษย์

โรงเรียนแบ่งการบริหารงานออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มบริหารวิชาการ                   2. กลุ่มบริหารงบประมาณ
3. กลุ่มบริหารงานบุคคล               4. กลุ่มบริหารงานทั่วไป
งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(โสตทัศนศึกษา) สังกัดกลุ่มบริหารงานทั่วไป โดยมีขอบข่าย บทบาทหน้าที่ ดังนี้


  • จัดทำทะเบียนวัสดุครุภัณฑ์ของงานโสตทัศนศึกษาให้เป็นปัจจุบัน
  • ประสานกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ในการผลิตสื่อวิดิทัศน์และสื่ออื่น
  • จัดหาโสตทัศนูปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับโรงเรียนให้เพียงพอ
  • จัดระเบียบการใช้และเอกสารเผยแพร่รายชื่อสื่อให้สะดวกในการใช้บริการบันทึกเสียง ถ่ายภาพ วีดิโอเพื่อประชาสัมพันธ์และแสดงผลงานการให้บริการครู บุคลากร และนักเรียน
  • ให้บริการด้านสื่อการเรียนการสอน
  • ให้บริการห้องประชุมสำหรับการจัดกิจกรรม
  • ให้บริการด้านถ่ายภาพและถ่ายวีดิโอ
  • ให้บริการด้านโสตทัศนูปกรณ์ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ

บุคลากร มีจำนวน 5 ท่าน จบการศึกษาตรงสาย และบรรจุตรงตามกลุ่มวิชาเอกที่กระทรวงศึกษาธิการ กำหนด จำนวน 2 ท่าน


Strengths คือ จุดแข็ง



  1. ผู้บริหารให้การสนับสนุนการดำเนินงาน โดยจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนรายหัว เงินรายได้สถานศึกษา และเงินสวัสดิการ ในการสนับสนุนการจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ เพื่อให้มีความทันสมัย และพร้อมใช้อยู่เสมอ
  2. องค์กรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียน ได้แก่ สมาคมนักเรียนเก่านวลนรดิศ สมาคมผู้ปกครองและครู เครือข่ายผู้ปกครอง ให้การสนับสนุน ทุนในการซ่อมแซมบำรุง วัสดุ ครุภัณฑ์ เป็นประจำทุกปี
  3. บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานจบตรงสายและบรรจุตรงตามกลุ่มวิชาเอกเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ได้แก่ ตำแหน่ง ครูวิชาเอกโสตทัศนศึกษา ครูวิชาเอกเทคโนโลยีทางการศึกษา ทำให้เข้าใจถึงขอบข่าย บทบาทหน้าที่ และสามารถทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์
  4. มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยจัดศึกษาดูงานการให้บริการโสตทัศนศึกษา การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนการบำรุงรักษา กับหน่วยงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษากับโรงเรียนอื่นในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น โรงเรียนวัดรางบัว กรุงเทพมหานคร โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
  5. มีชุมนุมแกนนำนักเรียนโสตทัศนศึกษาทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลายช่วยปฏิบัติงาน กิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียน ทำให้งานตามขอบข่าย บทบาทหน้าที่ ดำเนินการไปได้ด้วยความรวดเร็ว และบรรลุวัตถุประสงค์



Weaknesses คือ จุดอ่อน



  1. โรงเรียนมีพื้นที่ 2 บริเวณ แยกกันอย่างชัดเจน ห่างจากกัน 300 เมตร โดยบริเวณที่ 1 เป็นพื้นที่จัดการเรียนการสอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และบริเวณที่ 2 เป็นพื้นที่สำหรับจัดการเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทำให้การปฏิบัติงานบางครั้งเป็นไปด้วยความล่าช้า เนื่องจากต้องใช้เวลาเดิน และขนย้ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติกิจกรรม
  2. ข้อจำกัดทางด้านบุคลากร เนื่องจากบุคลากรเป็นครูตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ จะต้องมีชั่วโมงปฏิบัติการสอนตามที่สถานศึกษามอบหมาย ทำให้มีชั่วโมงในการสอนจำนวนมากพอสมควร บางครั้งกิจกรรมทับซ้อนกับคาบเรียน ทำให้นักเรียนไม่ได้เรียนในครั้งนั้นไป
  3. การซ่อมแซมโสตทัศนูปกรณ์ที่เชื่อมถึงกัน เช่น เสียงตามสายระหว่างโรงเรียนทั้งสองพื้นที่ หากเกิดกรณีเสียหาย จะใช้เวลาในการซ่อมเป็นไปด้วยความล่าช้า เนื่องจากระยะห่างที่อยู่ไกลกัน



Opportunities คือ โอกาส



  1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้การสนับสนุนเงินทุนและปัจจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการสอนเพิ่มมากขึ้นในทุกปี เพื่อให้เป็นไปตามการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และไทยแลนด์ 4.0 ส่งผลให้งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(โสตทัศนศึกษา) กลุ่มบริหารงานทั่วไป นำเงินมาใช้พัฒนาความสามารถของนักเรียนแกนนำโสตทัศนศึกษา ผ่านการจัดกิจกรรมในรูปแบบค่าย ได้แก่ ค่ายพัฒนาทักษะความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีการผลิตภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล
  2. มหาวิทยาลัยสยาม (มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงที่ให้คำปรึกษากับโรงเรียนในพื้นที่เขตภาษีเจริญ) ตามโครงการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้การสนับสนุนทุนสำหรับส่งเสริมการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีเพื่อ การศึกษาทุกปี โดยงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(โสตทัศนศึกษา) กลุ่มบริหารงานทั่วไป นำเงินมาให้บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องไปศึกษาดูงาน เช่น การศึกษาดูงานการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ นำกลับมาพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น
  3. สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดสรรงบประมาณให้ครูในรูปแบบคูปองครูคนละ 10,000 บาท บุคลากรในหน่วยงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (โสตทัศนศึกษา) จึงมีโอกาสได้ลงทะเบียนคอร์สเรียนการตัดต่อภาพยนตร์และแอนิเมชั่น เพื่อสร้างเสริมทักษะการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลกับหน่วยงานมากยิ่งขึ้น


Treats คือ อุปสรรค



  1. ในบางครั้งเมื่อหน่วยงานต้นสังกัด มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูง มักจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทำให้โครงการที่จะให้การสนับสนุนถูกชะลอออกไป ส่งผลและมีอุปสรรคต่อการจัดการเงินที่จะนำมาใช้บริหารโรงเรียนและงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(โสตทัศนศึกษา) กลุ่มบริหารงานทั่วไป



จัดทำโดย
นายธนพล กัณหสิงห์ รหัสนิสิต 6014650679
นางสาวปาลญา สุวาส รหัสนิสิต 6014650741
นาวสาวสุริศา วารุณ รหัสนิสิต 6014650890
นางสาวพัชราภรณ์ พลพิทักษ์ รหัสนิสิต 6014651624
นางสาวมนัสนันท์ สระบัว รหัสนิสิต 6014651632

ศึกษาการบริหารจัดการองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ ECT

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร


ระวัติความเป็นมา
  •  ปี 2533 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ขั้นโดยให้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงการ และรับผิดชอบงาน
  •  ปี 2534 คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระชนมพรรษา 5 รอบ กำหนดกรอบงบประมาณโครงการ 650 ล้านบาท
  •  ปี 2535 ได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาพื้นที่ก่อสร้าง ศึกษารูปแบบการบริหารจัดทำแผนแม่บท
  •  ปี 2537 เริ่มก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ งบการดำเนินการ 514.29 ล้านบาท
  •  ปี 2538 คณะรัฐมนตรีอนุมัติ พระราชกำหนด จัดตั้ง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์(อพวช.)ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2538 และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ อพวช. เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2538
  •  ปี 2540 เริ่มงานออกแบบ จัดทำ และติดตั้งนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เริ่มก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และอาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ
  •  ปี 2543 เปิดให้บริการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2543

วัตถุประสงค์
  •  เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชนบท
  •  เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมสังคมไทยให้สนใจและเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อ การพัฒนาประเทศ และปลูกฝังให้เยาชนมีทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  •  เพื่อเป็นสถานที่ให้ความรู้และความเพลิดเพลินของครอบครัว รวมทั้งเป็นแหล่งท่อง เที่ยวของนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ

บทบาทหน้าที่ สิ่งที่ให้กับประชาชน
อพวช. เป็น
- แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (
Life-long Learning)
- แหล่งสาระบันเทิง (
Edutainment)
- แหล่งพัฒนาวิชาชีพ (
Career Development)
- แหล่งท่องเที่ยวอย่างมีสาระ (
Edu-tourism Attraction)
หลังจากการรับมอบโอนงานระยะเริ่มแรกจากสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯอพวช.ได้จัดทำแผนขึ้นเป็นครั้งแรกและได้ดำเนินการจนถึงปี 2540 ในช่วง 10 ปี ต่อจากนี้ไป อพวช.จึงได้กำหนด กรอบแผนรวมขึ้นเพื่อใช้เป็น คู่มือในการดำเนินงาน ดังนี้
1. จัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในภาคกลาง  ในเขตจังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 180 ไร่ บริเวณเทคโนธานี ตำบลคลอง 5 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จะมีพิพิธภัณฑ์และศูนย์ต่างๆ ดังนี้
-  พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ มีเนื้อที่ 18,000 ตร.ม. เปิดบริการแล้ว
-  พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มีเนื้อที่ 3,000 ตร.ม. เปิดบริการแล้ว
-  พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ มีเนื้อที่ 9,300 ตร.ม. เปิดบริการแล้ว
2. การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ในพื้นที่อื่นๆ
            -  จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ อาคารจัตุรัสจามจุรี ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กทม. 

วิสัยทัศน์
เป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนา การบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์แหล่งเรียนรู้ และการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์

พันธกิจ
สั่งสมภูมิปัญญาถ่ายทอดสารสาระ และพัฒนาการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์




Strengths
  • เป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์
  • เป็นองค์กรขนาดใหญ่ของรัฐที่มีความน่าเชื่อถือ
  • มีกิจกรรมให้ประชาชนมีส่วนร่วมตลอดเวลา
  • มีพื้นที่กว้างขวาง เพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับประชาชนจำนวนมาก
Weaknesses
  • สื่อที่จัดแสดงหลายชิ้นไม่มีความร่วมสมัย และมีความชำรุดเสียหาย
  • การเดินทางค่อนข้างลำบาก เนื่องจากตั้งอยู่ห่างไกลเขตชุมชน
Opportunities
  • รัฐบาลชุดปัจจุบันมีนโยบายมุ่งเน้นผลักดันในเรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยี
Threats
  • ในปัจจุบันมีสื่อที่มีความน่าสนใจและเข้าถึงได้ง่ายกว่า
  • อุปนิสัยของคนไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับพิพิธภัณฑ์และงานจัดแสดงศิลปะ



© It's blog. it's me. 2012 | Blogger Template by Enny Law - Ngetik Dot Com - Nulis