วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คิด วิเคราะห์ ปฏิบัติ



     
      ก่อนลงมือทำสื่อสิ่งแรกที่ต้องทำคือกำหนดเนื้อหาที่ต้องการนำมาจัดทำสื่อ โดยแพรเลือกเป็นเนื้อหาที่แคบและเป็นเนื้อหาง่ายๆที่เหมาะกับเด็กเล็ก โดยที่แพรได้เลือกมานั้นคือเรื่อง การแต่งกายซึ่งเป็นเนื้อหาในบทเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยสิ่งที่แพรต้องการเสนอนั้นแพรต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้พร้อมกับได้สนุกกับการเล่นไปพร้อมๆกัน

            หลังจากกำหนดขอบเขตของเนื้อหาได้แล้วนั้นขั้นต่อไปที่แพรลงมือทำคือการกำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดการสื่อ เพื่อทำให้ง่ายต่อการพัฒนารูปแบบของสื่อ



       หลังจากที่ได้เนื้อหา วัตถุประสงค์เรียบร้อย ก่อนที่จะลงมือทำสื่อของจริงนั้น แพรได้มีการทำตัวอย่างสื่อออกมาก่อน เพราะเป็นการป้องกันการผิดพลาดในการทำเนื้องานจริง โดยตัวอย่างสื่อนี้จัดทำแบบเสมือน ที่ต้องคำนึงวัยของผู้เรียนเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะรูปแบบสีสัน ความสวยงามความน่าสนใจของสื่อ ขนาดตัวอักษรที่มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทดลองและปรับปรุงให้เหมาะสม




      เมื่อกำหนดรูปแบบ ได้เรียบร้อยขั้นต่อไปคือการเตรียมอุปกรณ์การทำ โดยมีด้วยกันทั้งหมดดังนี้


1. กระดาษชานอ้อย 
2. กระดาษสติ๊กเกอร์ผิวมัน
3. เลื่อยฉลุ พร้อมใบเลื่อย
4. คัตเตอร์
5. แผ่นรองตัด
6. กระดาษกาว
7. คอมพิวเตอร์และเครื่องปริ้น







      1. ลงมือทำสื่อตามที่ได้ออกแบบไว้ด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop. และนำมาจัดหน้าเพื่อง่ายต่อการ Print ด้วยโปรแกรม Microsoft Office Word.

      2. ทำสิ่งพิมพ์ที่ได้มานั้น แปะลงบนกระดาษชานอ้อยที่ตัดไว้เป็นขนาด A4 แล้ว โดยที่บ้างหน้าของสื่อนั้น จะถูกออกแบบเป็น Pop Up ถึงจำเป็นที่ต้องมีการฉลุกระดาษนั้น

      3. หลังจากลงมือทำสื่อเรียบร้อยแล้วนั้น ก็ได้นำมาให้เพื่อนได้ทดลองใช้และนำมา*ปรับปรุงอีกครั้ง




      *สิ่งที่นำมาปรับปรุง คือ เรื่องการเย็บเล่มที่ต้องมีความแข็งแรงคงทน รวมทั้งหาที่ใส่อุปกรณ์แยกต่างหาก เพื่อลดการดึงเข้าออกของสื่อ ทำให้สามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของสื่อได้


















วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เตรียม พร้อม ปฏบัติ




การทำงานในส่วนของภาพยนตร์ "ครูครับ เราจะสู้เพื่อฝัน Dead Poets Society."
-----------------------------------------------------------------------------------------

การเตรียมตัว
เนื่องจากการทำงานในครั้งนี้ จำเป็นต้องศึกษาความรู้จากการชมภาพยนตร์ โดยการเตรียมตัวก่อนลงมือทำงานชิ้นนี้คือ หลังจากการจับฉลากเลือกว่าได้ภาพยนตร์เรื่องใดแล้ว สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องทำการสืบค้นประเภทของภาพยนตร์ เรื่องย่อ และคำสรุปต่างๆจากผู้ชมท่านอื่น เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นในการชมภาพยนตร์ เนื่องจากภาพยนตร์ที่ได้รับนั้นเป็นภาพยนตร์เก่าและเป็นภาษาต่างประเทศ

ขั้นตอนการทำงาน
            หลังจากการเตรียมตัวเรียบร้อยแล้วนั้น มีการแบ่งหน้าที่ในการทำงานของสมาชิกกลุ่มดังต่อไปนี้
            1. สมาชิกกลุ่มรับชมภาพยนตร์ สรุปใจความสำคัญของภาพยนตร์ตามประเด็นต่างๆดังนี้
            - วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
- องค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอน
- ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
- บทบาทของผู้สอน
- บทบาทของผู้เรียน
            2. เมื่อสมาชิกทุกคนในกลุ่มได้สรุปตามหัวข้อที่ได้แล้ว ก็จะนำเนื้อหาของทุกคนมารวบรวมแล้วสรุปใจความอีกครั้งเพื่อใช้ในการทำสไลต์ ประกอบการนำเสนอในห้องเรียน
            3. สมาชิกทุกคนในกลุ่มร่วมอภิปรายถึงฉากต่างๆในภาพยนตร์ ที่มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับหัวข้อเพื่อตัดเนื้อหาของภาพยนตร์ในช่วงนั้นออกมานำเสนอคู่กับสไลส์ เป็นการช่วยให้เพื่อนๆสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น
            4. การนำเสนอจะแบ่งหัวข้อในการนำเสนอตามสมาชิกแต่ละคนถนัด




ความรู้ที่ได้รับ
            จากการทำงานในครั้งนี้ความรู้ที่ได้รับคือ
            1. สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ รู้จักการแบ่งสรรการทำงานให้เหมาะสมชัดเจน ตามความสามารถของสมาชิกแต่ละคน
            2. ได้ศึกษาแนวคิดใหม่ๆจากภาพยนตร์ของต่างประเทศ
            3. ได้ฝึกภาษา รวมทั้งสามารถสรุปใจความสำคัญของภาพยนตร์ได้อย่างถูกต้อง




การทำงานในส่วนของการแปลภาษาอังกฤษ Teaching with the “Basic Three"
-----------------------------------------------------------------------------------------

การเตรียมตัว
            การทำงานในครั้งนี้ เป็นการแปลเนื้อหาจากบทความภาษาอังกฤษ โดยอาจารย์จะให้เนื้อหาทั้งหมดมาแล้วให้นิสิตนำไปถ่ายเอกสารแบ่งกันตามที่ได้จับฉลากเลือกไว้

ขั้นตอนการทำงาน
            1. การทำงานในครั้งนี้สมาชิกทุกคนในกลุ่มจะได้รับหน้าที่ไม่เหมือนกันทุกคน โดยจะแบ่งเป็นสองฝ่ายคือ แปลเนื้อหา และ สรุปเนื้อหาที่แปลพร้อมทำสื่อการนำเสนอ
            2. การรับหน้าที่เป็นฝ่ายสรุปงานและทำสื่อการนำเสนอนั้น เมื่อได้รับเนื้องานการแปลทั้งหมดจากสมาชิกในกลุ่มแล้ว ก็ต้องนำมาตรวจสอบคำผิด เรียบเรียงประโยคและสรุปใจความ เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจและการจัดทำสื่อการนำเสนอ
            3. การจัดทำสื่อการนำเสนอนั้น ต้องวิเคราะห์ว่าเนื้อหาทั้งหมดนั้นต้องการสื่ออะไร และสื่ออะไรที่ตอบสนองต่อความเข้าใจในการเรียนรู้มากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องดีตรงที่เนื้อหาที่ได้รับมาแปลนั้นเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมพื้นฐานอย่าง  โปรแกรมประมวลผลคำ, โปรแกรมตารางทำการ, โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เพื่อนๆคุ้นเคยอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน
            4. การนำเสนอก็จัดแบ่งตามเนื้อหาที่สมาชิกแต่ละคนได้รับผิดชอบในการแปล





ความรู้ที่ได้รับ
            1. ทำให้ฝึกทักษะด้านภาษา ได้รู้จักคำศัพท์ใหม่ๆและสามารถสรุปใจความสำคัญได้
            2. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้งานซอฟแวร์ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาอย่างสูงสุด
            3. นำความรู้ที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถต่อยอดเพื่อนำไปใช้ในประกอบการสร้างสื่อการเรียนการสอนได้





© It's blog. it's me. 2012 | Blogger Template by Enny Law - Ngetik Dot Com - Nulis