สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านกลับมาเจอกันอีกแล้ว ช่วงนี้จะเห็นว่าแพรมาอัพเดทบทความบ่อยๆ
ไม่ต้องแปลกใจค่ะเพราะแพรส่งการบ้าน
แหมสมัยนี้ก็เป็นยุคของเทคโนโลยีถ้าการเรียนการสอนไม่มีการอัพเดทให้ทันยุคทันสมัย
มีหวังนักเรียน นิสิต นักศึกษาคงได้นั่งเบื่อกันเป็นแถวๆ
เพราะเหตุนี้อาจารย์หลายๆท่านจึงต้องมีการพัฒนาแผนการสอนให้ตามทันศิษย์
อย่างแพรท่านอาจารย์ก็ให้มีการทำงานส่งผ่านเฟสบุ๊คทันสมัยมากเลยใช่ไหมล่ะคะ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
จะเห็นได้ชัดเลยว่าทุกวันนี้โลกเรามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรามากขึ้น
จากตอนเด็กๆที่แพรจำได้คุณครูของแพรยังสอนโดยการเขียนกระดานดำ ใช้ช๊อคเขียนกระดาน
นั่งจดกันอย่างตั้งใจเพราะกลัวคุณครูจะลบไปซะก่อน
ผ่านไปสักพักกระดานสีเขียวๆในห้องเรียนก็เปลี่ยนเป็นกระดานไวท์บอร์ด ช่วยเพื่อนที่เป็นโรคหอบหืดไปได้พอสมควร (จะได้ไม่ต้องนั่งสูดฝุ่นช๊อคทุกวัน) พอโตขึ้นมาอีกนิดก็เริ่มมีการเรียนผ่าน PowerPoint คุณครูเริ่มมีการนำคลิปวิดีโอต่างๆมาเปิดเพื่อเป็นสื่อการเรียนการ สอน แต่คุณครูบางคนท่านก็ไม่ถนัดทำสื่อคอมพิวเตอร์เท่าไรนักก็ยังมีการเรียนแบบจดบนกระดานอยู่บ้าง แต่พอชีวิตเริ่มเข้าสู่ช่วงมัธยมตอนปลายจะพูดได้เลยว่าขนาดคุณครูวัยพี่เบิร์ดธงไชยบางท่านยังทำสื่อ PowerPoint สวยกว่าแพรด้วยซ้ำ ไวท์บอร์ดแทบจะถูกลืมไปเลย แถมคุณครูบางท่านยังมีการทำเกมส์แอนนิเมชั่นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนอีกด้วย ช่วยทำให้คาบบ่ายในวิชาฟิสิกส์ดูน่าตื่นเต้นขึ้นได้มาก (ปกติจะมีอาการง่วงเหงาหาวนอนเข้าแทรกประจำ)
แต่ถ้าจะให้พูดถึงช่วงมัธยมตอนปลายสื่อในการเรียนที่แพรประทับใจมากที่สุดก็คงไม่พ้นห้องดูดาว 3 มิติ (เป็นห้องฉายภาพเสมือนจริงดาราศาสตร์ 3 มิติ ที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ร่วมกับ The Centre for Astrophysics & Supercomputing, Swinburne University of Technology, Australia จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนดาราศาสตร์ที่จะช่วยจุดประกาย เด็กและเยาวชน ให้เกิดความรักและสนใจในดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีความสำคัญมาก ช่วยในการเสริมสร้างจินตนาการให้สนใจศึกษาและค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีมากขึ้น) จะพูดได้เลยว่าการได้ไปศึกษาแหล่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ในครั้งนั้นเป็นการจุดประกายที่ทำให้แพรเริ่มสนใจที่จะมาฝึกฝนในเทคโนโลยีการศึกษาต่างๆอย่างจริงจัง เริ่มในช่วงมัธยมศึกษาปีที่ 5 แพรเริ่มมีโอกาสได้ฝึกอบรมและเป็นตัวแทนของโรงเรียนในการจัดทำสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา ทำให้แพรได้รู้จักสื่อการเรียนรู้อีกมาก ไม่ว่าจะเป็น CAI, e-book, Animation, e-Learning และอื่นๆอีกมากมาย พอยิ่งได้รู้จักได้สัมผัสยิ่งทำให้แพรอยากจะรู้มากขึ้น นั่นจึงเป็นเหตุผลอีกข้อที่ทำให้แพรตัดสินใจมาเรียนที่นี่
เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงมหาวิทยาลัยการเรียนการสอนเปลี่ยนไปจากช่วงมัธยมอย่างสิ้นเชิง จะบอกได้เลยว่าถ้าไม่มีอินเตอร์เน็ตการทำอะไรต่างๆกลายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบาก เพราะในช่วงมหาวิทยาลัยนี้ไม่ว่าจะเป็นการสืบค้นข้อมูล การส่งงาน การติดต่อกับท่านอาจารย์ ล้วนแล้วจะต้องทำผ่านอินเตอร์เน็ตทั้งสิ้น แต่เนื่องจากตอนปีหนึ่งอินเตอร์เน็ตที่องครักษ์ใช้งานได้ดีมากเหลือเกิน จึงทำให้แพรและเพื่อนๆก็ได้มีโอกาสกับมาพึ่งพาเทคโนโลยีการศึกษาในรูปแบบเดิมๆอยู่บ่อยครั้ง แต่ห้องสมุดก็ไม่เคยทำให้แพรผิดหวังถึงแม้ว่ากว่าจะค้นหาได้ตามที่ต้องการก็ทำเอาเหนื่อยไม่ใช่เล่น
จากที่แพรกล่าวมาทั้งหมดท่านผู้อ่านจะเห็นได้เลยนะคะว่าการเรียนการสอนมีเทคโนโลยีการศึกษาเข้ามาช่วยมากมาย แม้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาบางอย่างในปัจจุบันนี้อาจจะโดนหลงลืมไปบ้าง แต่สำหรับตัวแพรคิดว่าเทคโนโลยีการศึกษาทุกอย่างยังคงมีประโยชน์เท่าๆกัน เพียงแต่ได้นำมาใช้ในโอกาสใดก็เท่านั้น แล้วเทคโนโลยีการศึกษาของท่านผู้อ่านล่ะคะมีอะไรบ้าง? อย่าลืมมาแบ่งบันประสบการณ์การเรียนรู้ให้แพรอ่านบ้างนะคะ
ผ่านไปสักพักกระดานสีเขียวๆในห้องเรียนก็เปลี่ยนเป็นกระดานไวท์บอร์ด ช่วยเพื่อนที่เป็นโรคหอบหืดไปได้พอสมควร (จะได้ไม่ต้องนั่งสูดฝุ่นช๊อคทุกวัน) พอโตขึ้นมาอีกนิดก็เริ่มมีการเรียนผ่าน PowerPoint คุณครูเริ่มมีการนำคลิปวิดีโอต่างๆมาเปิดเพื่อเป็นสื่อการเรียนการ สอน แต่คุณครูบางคนท่านก็ไม่ถนัดทำสื่อคอมพิวเตอร์เท่าไรนักก็ยังมีการเรียนแบบจดบนกระดานอยู่บ้าง แต่พอชีวิตเริ่มเข้าสู่ช่วงมัธยมตอนปลายจะพูดได้เลยว่าขนาดคุณครูวัยพี่เบิร์ดธงไชยบางท่านยังทำสื่อ PowerPoint สวยกว่าแพรด้วยซ้ำ ไวท์บอร์ดแทบจะถูกลืมไปเลย แถมคุณครูบางท่านยังมีการทำเกมส์แอนนิเมชั่นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนอีกด้วย ช่วยทำให้คาบบ่ายในวิชาฟิสิกส์ดูน่าตื่นเต้นขึ้นได้มาก (ปกติจะมีอาการง่วงเหงาหาวนอนเข้าแทรกประจำ)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
แต่ถ้าจะให้พูดถึงช่วงมัธยมตอนปลายสื่อในการเรียนที่แพรประทับใจมากที่สุดก็คงไม่พ้นห้องดูดาว 3 มิติ (เป็นห้องฉายภาพเสมือนจริงดาราศาสตร์ 3 มิติ ที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ร่วมกับ The Centre for Astrophysics & Supercomputing, Swinburne University of Technology, Australia จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนดาราศาสตร์ที่จะช่วยจุดประกาย เด็กและเยาวชน ให้เกิดความรักและสนใจในดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีความสำคัญมาก ช่วยในการเสริมสร้างจินตนาการให้สนใจศึกษาและค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีมากขึ้น) จะพูดได้เลยว่าการได้ไปศึกษาแหล่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ในครั้งนั้นเป็นการจุดประกายที่ทำให้แพรเริ่มสนใจที่จะมาฝึกฝนในเทคโนโลยีการศึกษาต่างๆอย่างจริงจัง เริ่มในช่วงมัธยมศึกษาปีที่ 5 แพรเริ่มมีโอกาสได้ฝึกอบรมและเป็นตัวแทนของโรงเรียนในการจัดทำสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา ทำให้แพรได้รู้จักสื่อการเรียนรู้อีกมาก ไม่ว่าจะเป็น CAI, e-book, Animation, e-Learning และอื่นๆอีกมากมาย พอยิ่งได้รู้จักได้สัมผัสยิ่งทำให้แพรอยากจะรู้มากขึ้น นั่นจึงเป็นเหตุผลอีกข้อที่ทำให้แพรตัดสินใจมาเรียนที่นี่
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงมหาวิทยาลัยการเรียนการสอนเปลี่ยนไปจากช่วงมัธยมอย่างสิ้นเชิง จะบอกได้เลยว่าถ้าไม่มีอินเตอร์เน็ตการทำอะไรต่างๆกลายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบาก เพราะในช่วงมหาวิทยาลัยนี้ไม่ว่าจะเป็นการสืบค้นข้อมูล การส่งงาน การติดต่อกับท่านอาจารย์ ล้วนแล้วจะต้องทำผ่านอินเตอร์เน็ตทั้งสิ้น แต่เนื่องจากตอนปีหนึ่งอินเตอร์เน็ตที่องครักษ์ใช้งานได้ดีมากเหลือเกิน จึงทำให้แพรและเพื่อนๆก็ได้มีโอกาสกับมาพึ่งพาเทคโนโลยีการศึกษาในรูปแบบเดิมๆอยู่บ่อยครั้ง แต่ห้องสมุดก็ไม่เคยทำให้แพรผิดหวังถึงแม้ว่ากว่าจะค้นหาได้ตามที่ต้องการก็ทำเอาเหนื่อยไม่ใช่เล่น
จากที่แพรกล่าวมาทั้งหมดท่านผู้อ่านจะเห็นได้เลยนะคะว่าการเรียนการสอนมีเทคโนโลยีการศึกษาเข้ามาช่วยมากมาย แม้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาบางอย่างในปัจจุบันนี้อาจจะโดนหลงลืมไปบ้าง แต่สำหรับตัวแพรคิดว่าเทคโนโลยีการศึกษาทุกอย่างยังคงมีประโยชน์เท่าๆกัน เพียงแต่ได้นำมาใช้ในโอกาสใดก็เท่านั้น แล้วเทคโนโลยีการศึกษาของท่านผู้อ่านล่ะคะมีอะไรบ้าง? อย่าลืมมาแบ่งบันประสบการณ์การเรียนรู้ให้แพรอ่านบ้างนะคะ