วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Healthy lady App. ความรู้คู่สุขภาพ

 

สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านทุกคน แน่นอนว่าวันนี้แพรต้องมีสาระความรู้หรือเรื่องราวๆดีมาฝากท่านผู้อ่านทุกท่าน ในปัจจุบันนี้ปัญหาเรื่องสุขภาพและเรื่องเพศใน เยาวชนไทยยังคงได้รับการพูดถึงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนึ่งทางออกในการแก้ปัญหา คือการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่เยาวชน โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันมากขึ้น วันนี้แพรจึงได้นำเทคโนโลยีดีๆที่สามารถตอบโจทย์เรื่องเพศให้วัยรุ่นได้ง่ายและรวดเร็ว แท่น แท๋น... Healthy lady แอพพลิเคชั่น ความรู้เรื่องสุขภาพ เอาล่ะค่ะเรามาทำความรู้จักกับ App นี้กันดีกว่า




 “Healthy Lady” จัดทำขึ้นโดยมหาวิทยาลัยรังสิตร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพเบื้องต้นและปัญหาสุขภาพที่พบ บ่อยในเยาวชน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ   ที่ให้ความรู้ทั้งหมด 3 เรื่อง ได้แก่

1. Menstruation ให้ความรู้เกี่ยวกับการเกิดประจำเดือน การนับรอบเดือน   
2. Safe Sex ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ การป้องกันไม่ให้ตั้งครรภ์อย่างไม่พึงประสงค์   
3. Emergency pill ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน 
 นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรมคำนวณรอบประจำเดือน (Period Calculator) อีกด้วย


การคำนวณรอบประจำเดือน
คำเตือน! สำคัญสำหรับวัยรุ่น


   
        จากสติถิที่ได้กล่าวไว้ว่าไทยครองแชมป์ ท้องก่อนแต่ง อันดับ 1 เอเชีย-อันดับ 2 ของโลก และมีผู้หญิงท้องโดยไม่พร้อมสูงถึงร้อยละ 70 ของจำนวนหญิงท้องก่อนแต่ง ที่สำคัญที่สุดคืออายุต่ำสุดอยู่ที่ 12 ปี แพรคิดแอพพลิเคชั่นนี้จะเป็นตัวช่วยได้มากไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการป้องกันตัวเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หลายคนอาจคิดว่าถ้าตัวเองไม่ได้ไปมีเพศสัมพันธ์กับใคร ไม่เห็นจำเป็นต้องใช้แอพพลิเคชั่นตัวนี้เลย ไม่จริงเลยค่ะเพราะสำหรับแพรก็จะใช้แอพพลิเคชั่นตัวนี้ในการคำนวณรอบเดือนต่างๆ นอกจากจะทำให้เราได้ระมัดระวังในการมีรอบเดือนแล้ว (ผู้หญิงจะได้เตรียมอุปกรณ์พร้อม เผื่อการเดินทาง) ยังสามารถบอกถึงสุขภาพในช่วงนั้นของเราได้ด้วย หากการมีประจำเดือนของเราขาดหรือมาไม่ตรงตามที่เคยเป็นมา จะทำให้เราได้ใส่ใจในสุขภาพของเรามากขึ้นด้วยค่ะ


        ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้แพรหยิบ Healthy Lady มานำเสนอในท่านผู้อ่านได้รู้จักก็เพราะว่า แอพพลิเคชั่นตัวนี้เป็นฝีมือของนักศึกษาไทยที่ร่วมกันพัฒนาสิ่งดีมาแบ่งบันให้สังคมแบบฟรีๆ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางของการหาความรู้ในยุคเทคโนโลยีแบบนี้เลยใช่ไหมล่ะคะ และสำหรับวันนี้แพรก็ขอลาไปก่อน ครั้งหน้าแพรจะนำความรู้สาระดีๆอะไรมานำเสนอกันดีอีกอย่าลืมติดตามกันนะคะ 

 

ส่งท้าย "วิธีดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น" (สำหรับ IOS)


ขั้นตอนที่ 1

ขั้นตอนที่ 2
ขั้นตอนที่ 3

 เพียงเท่านี้เราก็จะได้แอพพลิเคชั่นดีๆมาใช้กันอย่างฟรีๆแล้วค่ะ




วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

TCDC แหล่งเรียนรู้...ควบคู่จิตนาการ



วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ได้สร้างคำถามต่อความแข็งแกร่งของระบบเศรษฐกิจว่า เราต้องการเครื่องมือเพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพท่าม กลางความท้าทาย ซึ่งแนวคิดการสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่บนรากฐานขององค์ความรู้และความคิดสร้าง สรรค์ คือคำตอบสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างโอกาสและความได้เปรียบในเวทีสากลของไทย 
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ก่อตั้งขึ้นในปี 2547 ภายใต้รัฐบาล พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร เพื่อเชื่อมโยงและสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ ทักษะฝีมือ ทุนทางวัฒนธรรม และธุรกิจ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการของ ตลาดโลกได้ TCDC ผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ในปี 2551 เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการสร้างสรรค์ให้เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาเครือข่ายการบริหารความรู้ผ่าน miniTCDC 14 แห่งทั่วประเทศ พร้อมก่อตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เชียงใหม่ในปี 2556 เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์และเตรียมพร้อมผู้ประกอบการ ในภูมิภาคให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม
TCDC จะยังคงพัฒนารูปแบบการบริหารความรู้ ส่งต่อ และเชื่อมโยงความคิดเข้ากับการสร้างสรรค์ธุรกิจ เพื่อเปิดโอกาสให้จินตนาการสามารถเปลี่ยนชีวิตคุณได้จริงๆ


ความเป็นมา

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ Thailand Creative & Design Center (TCDC) จัดตั้งขึ้นตามมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2546 โดยได้รับการประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ให้เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ ความรู้ (องค์การมหาชน) สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และได้รับสนับสนุนงบประมาณประจำปีจากสำนักงบประมาณ
TCDC เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 และเปิดให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา


บริการของ TCDC 
 

แหล่งกระตุ้นจินตนาการ


นิทรรศการถาวร นำเสนอนิทรรศการต้องมีอะไรถึงออกแบบได้บนพื้นที่ขนาด 300 ตารางเมตร สำรวจผลงานออกแบบอุตสาหกรรมคลาสสิกแห่งศตวรรษที่ 20 ซึ่งสะท้อนกระบวนการตีความเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของ 10 ประเทศผู้นำด้านการออกแบบ พร้อมค้นหากระบวนการที่มาของอัจฉริยภาพแห่งท้องถิ่นในผลงานออกแบบอุตสาหกรรมของไทย

นิทรรศการหมุนเวียน บนพื้นที่ขนาด 500 ตารางเมตร จัดแสดงนิทรรศการจากทั่วโลกและที่จัดทำขึ้นโดย TCDC มีวัตถุประสงค์เพื่อเติมเต็มพื้นฐานความรู้ด้านการออกแบบและสร้างแรงบันดาล ใจให้แก่ผู้ชม ด้วยตัวอย่างผลงานการออกแบบที่มีชื่อเสียงในระดับสากล พร้อมคำอธิบายถึงปรัชญา แนวคิด และที่มาของงานออกแบบ


การเดินทางสู่ TCDC
 


การเดินทางนั้นง่ายแสนง่าย เพราะ TCDC ตั้งอยู่บนชั้น 6 ห้างเอ็มโพเรียม เดินทางได้โดย BTS ลงสถานีพร้อมพงษ์ หรือจะโดยสารรถเมล์สาย 2, 25, 40, 48, 501, 508, 511










สิ่งที่ได้รับจากการเข้าชม TCDC
 
หลังจากได้ไปศึกษาดูงาน ณ TCDC หรือ Thailand Creative & Design Center โดยในวันที่แพรได้ไปศึกษานั้นทาง TCDC ได้ทำการจัดนิทรรศการในหัวข้อเรื่อง what is design? ต้องมีอะไรถึงออกแบบได้ โดยรูปแบบของนิทรรศการได้มีการนำเสนอความโดดเด่นทางวัฒนธรรมของแต่ละชาติ ซึ่งสะท้อนกระบวนการตีความเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของ 10 ชาติ ได้แก่ อังกฤษ เยอรมัน อิตาลี ฝรั่งเศส อเมริกา สเปน เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ ญี่ปุ่น และบราซิล


และสิ่งที่ได้รับจากการชมนิทรรศการในครั้งนี้คือความเป็นมาของเอกลักษณ์ในแต่ละชนชาติ ทำให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจในการคิดต่อยอดเพื่อสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆขึ้นมา โดยส่วนตัวแล้วนั้นแพรมีความสนใจในผ้าพิมพ์ลายโขมพัสตร์ ที่เป็นการผสมผสานการทอผ้าในสังคมเกษตรกรรมพื้นบ้านเข้ากับลวดลายไทยจากงานศิลปะของช่างหลวง ซึ่งมีความงดงามและแสดงถึงเอกลักษณ์อย่างชัดเจน 

 แหล่งการเรียนรู้แห่งนี้ จากที่ได้กล่าวไว้ในด้านต้นว่ามีนิทรรศแล้วนั้น ยังมีในส่วนของห้องสมุดอีกด้วย โดยห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย เป็นแหล่งรวบรวมหนังสือด้านการออกแบบจำนวนกว่า 32,000 รายการ วารสารกว่า 210 ชื่อเรื่อง สื่อมัลติมีเดียกว่า 3,000 รายการ ทั้งในรูปแบบของภาพยนตร์ สารคดี และบันทึกภาพกิจกรรมให้ความรู้ของ TCDC ผ่านบริการ iPod และ iPad แต่ยังคงมีข้อจำกัดตรงที่ให้บริการเฉพาะสมาชิกเท่านั้น โดยการสมัครสมาชิกนั้นก็มีอัตราค่าสมัครต่างกันไป (อ่านข้อมูลเพิ่มเติม) 

การบูรณาการแหล่งเรียนรู้


 วิชาศิลปะ : TCDC แห่งนี้จัดทำขึ้นเพื่อเสริมความคิดให้โลดแล่นไปกับจินตนาการ เพื่อเปลี่ยนชีวิตคุณ ดังนั้นจึงเป็นที่แน่นอนว่าความรู้ต่างๆ ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องการความรู้ด้านศิลปะ อีกทั้งยังเป็นที่ที่ช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของผู้เข้าชมอีกด้วย

วิชาประวัติศาสตร์ : นอกจากจะมีความรู้เรื่องศิลปะแล้ว ยังมีความรู้ในเรื่องของประวัติศาสตร์ การเริ่มต้นของศาสตร์และศิลป์ในแขนงต่างๆ ที่ทำให้ผู้เข้าชมจะได้ความรู้ทางศิลปะและแฝงไปด้วยความรู้ทางประวัติศาสตร์อีกด้วย

วิชาภาษาอังกฤษ : เนื่องด้วยเป็นศิลปะจากทั่วทุกมุมโลก การศึกษาประวัติศาสตร์ของศิลปะแขนงต่างๆก็ต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง อีกทั้งหนังสือในห้องสมุดยังมีให้เลือกชมมากมายจากหลายประเทศ ก็ต้องพึ่งพาภาษาอังกฤษเพื่อเป็นภาษากลางในการศึกษาหาความรู้อีกด้วย

หากจะพูดถึงการบูรณาการในการเรียนรู้ที่เห็นได้ชัดที่สุดนั้นไม่ใกล้ไม่ไกลเลยค่ะ เนื่องจากตอนปี 3 เทอม 1 นั้น แพรได้เรียนวิชา SWU371 Creaticity Innovation and Technology ซึ่งวิชานี้ได้ให้นิสิตได้ออกไปศึกษาความรู้กับนิทรรศการ ถือว่าเป็นการตอบสนองตามจุดประสงค์ของแหล่งเรียนรู้ได้อย่างชัดเจนเลยทีเดียว ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่เข้าชมได้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน อีกทั้งยังสอดคล้องกับวิชาเรียน SWU371 นี้อีกด้วย 
นอกจากจะบูรณาการได้ในระดับอุดมศึกษาแล้ว ยังสามารถบูรณาการในระดับมัธยมและประถมศึกษาได้อีกด้วย ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะในยุคต่างๆได้อีกด้วย
แต่ในความคิดของแพรนั้น แพรคิดว่านอกจากแพรจะได้ความรู้แล้วนั้น แพรยังรู้สึกว่าได้ไปพักผ่อนอีกด้วยค่ะ ด้วยบรรยากาศที่เงียบสงบ สบาย อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่เป็นที่รวบรวมหนังสือด้านการออกแบบที่หลากหลาย แล้วหนอนหนังสือบวกกับชอบเรื่องของการออกแบบอย่างแพรก็หลงรักแหล่งการเรียนรู้ที่นี่ได้อย่างง่ายๆเลยล่ะค่ะ หากท่านผู้อ่านท่านใดอ่านแล้วสนใจแหล่งการเรียนรู้แห่งนี้แล้วล่ะก็ อย่างลืมรีบไปศึกษาหาความรู้กันนะคะ รับรองว่าต้องได้อะไรดีๆติดไม้ติดมือกลับมาแน่นอนค่ะ

ขอบคุณแหล่งการเรียนรู้ดีๆ TCDC (Thailand Creative & Design Center) 

© It's blog. it's me. 2012 | Blogger Template by Enny Law - Ngetik Dot Com - Nulis