วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

โพสต์ ไลค์ แชร์ ข่าวจริงหรือข่าวลวง


ในปัจจุบันกระแสของโลกออนไลน์หมุนไปเร็วมาก ผู้คนต่างเสพ แชร์ ไลค์ เม้นท์ กันอย่างเมามัน ต้องยอมรับว่า ช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียทั้งหลาย "รวดเร็ว" มากกว่าสื่ออื่นๆ แต่ความเร็วก็มักจะมาพร้อมกับความ "ผิดพลาด"
ดังที่เราจะได้เห็นกันอยู่ในตอนนี้ เกิด "ข่าวลือ ข่าวลวง" มากมาย ภาพตัดต่อ ข้อมูลที่ไร้แหล่งที่มา ไร้การยืนยัน มีให้เห็นกันเพียบ หากเกิดความผิดพลาด ก็ยากที่จะเรียกข้อความ หรือภาพนั้นกลับมาแก้ไขให้ถูกต้อง เพราะมันได้ถูกแชร์ออกไปถึงไหนต่อไหน

ที่มา : http://pantip.com/topic/31196066
       วันนี้แพรจึงอยากนำเสนอในเรื่องของการ แชร์ ไลค์ เม้นท์ของผู้คนผ่านทาง facebook กันสักเล็กน้อย ถ้าผู้อ่านท่านใดเป็นสาวก facebook แล้วล่ะก็คงเคยได้เห็นผ่านตากันมาบ้างกับกรณีของเรื่องราวการเตือนภัย "Nanako Haru บุคคลอันตราย"


http://technolomo.com/2013/11/07/nanako-haru-dangerous-women/
     แพรเป็นอีกคนหนึ่งนะคะที่เคยได้ข่าวคราวมาบ้าง แต่ยังไงอ่านเท่าไหร่ก็หาแหล่งที่มาที่ชัดเจนไม่ได้สักที จากการค้นหาข้อมูลมาสักระยะ สรุปได้ว่าบุคคลที่มีชื่อว่า Nanako Haru เป็นหญิงสาวที่หลอกตีสนิทกับผู้ชายเพื่อมีเพศสัมพันธ์ด้วย ก่อนที่จะขโมยของ โดยมีข่าวมาอีกว่าสาวคนนี้มีเชื้อ HIV อีกด้วย (อ่านเพิ่มเติม) เนื้อหาของข่าวสารส่วนใหญ่ที่ได้เผยแพร่มาก็มักจะมีลักษณะนี้ โดยมีเจ้าทุกข์หลายต่อหลายคนออกมาเล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เคยพบเจอ อีกทั้งบางคนถึงขนาดบอกว่าโชคร้ายติดโรคจากสาวฮารุเข้าเสียแล้ว บางคนก็ถึงกับขนาดที่ว่าแอบถ่ายภาพหรือเก็บข้อมูลต่างๆมาอีกมากมายด้วย มีหลายคนตั้งข้อสงสัยกันว่า แล้วทำไมเจ้าทุกข์ทั้งหลายไม่ไปแจ้งความเพื่อดำเนินคดี ก็จะได้รับเสียงตอบรับมาว่าทางตำรวจไม่ให้การสนใจ หรือ บางคนก็ปล่อยๆไปไม่ได้ถือเอาความ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักพักข่าวด้านลบของสาวฮารุก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยความรุนแรงของคำกล่าวหาก็เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ถึงทำให้เกิดข้อสงสัยที่ว่าข่าวบางข่าวเป็นเรื่องจริงหรือเพียงต้องการสร้างสถานการณ์ ไม่ใช่แพรคนเดียวที่คิดเช่นนั้นเพราะก็มีกลุ่มบุคคลที่สงสัยในเรื่องนี้อยู่ไม่น้อย แต่ผลตอบรับจากกลุ่มคนที่เคยประสบด้วยตนเองก็รุนแรงเช่นกัน ก็อย่างว่านะคะถ้าไม่โดนกับตัวก็ไม่รู้หรอก ดังนั้นในเรื่องราวนี้แพรคิดว่าขออยู่เป็นคนกลางจะดีกว่า แต่ยังไงซะการกระทำทั้งหลายนี้ก็ควรจะต้องระวังในเรื่องของพรบ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ทั้งมาตรา ๑๔ และ ๑๖ ที่กล่าวว่า

มาตรา ๑๔  ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
 
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)

มาตรา ๑๖  ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                    
                    ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด
 ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
 ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

การแสดงความคิดเห็นไม่ใช่เรื่องผิดค่ะ แต่ควรอยู่ในขอบเขต รวมทั้งการเตือนภัยต่างๆเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ควรตรวจสอบแหล่งที่มาและความน่าเชื่อถือกันด้วยนะคะ


แหล่งที่มาของข้อมูล :  
Nanako Haru บุคคลอันตราย



 
 
© It's blog. it's me. 2012 | Blogger Template by Enny Law - Ngetik Dot Com - Nulis